วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

สรุป บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์



สรุป บทที่ 4
การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ข้อมูล คือ สิ่งที่มีความหมายในตัว โดยข้อมูลทั่วไปที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นข้อมูลชนิด ตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ในการส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด ผ่านสายสื่อสารหรือคลื่นวิทยุ ข้อมูลที่ต้องการส่งจะต้อง ได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณที่เหมาะสมกับระบบการสื่อสารนั้นก่อน

สัญญาณ Signal
อุปกรณ์ที่ทำ การสื่อสารข้อมูลกันเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นลักษณะของข้อมูลต้องเป็นสัญญาณ ทางไฟฟ้าด้วย โดยสัญญาณทางไฟฟ้า ประกอบไปด้วย
1. สัญญาณอนาลอก
2. สัญญาณดิจิตอล





1.สัญญาณอนาลอก
สัญญาณที่มีความต่อเนื่องกันตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในรูปของความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ เปลี่ยนไปมาอย่างต่อเนื่อง การกำหนดลักษณะของสัญญาณจะก าหนดเป็นขนาดหรือแอมปลิจูด (Amplitude) กับ ค่าความถี่ (Frequency)


2..สัญญาณดิจิตอล
สัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้จะมีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณ สูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำหรือลอจิกต่ำ





รหัสแทนข้อมูล data code
            การเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปของเลขฐานสอง ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บอยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่แทนด้วยค่า “0” และค่า “1” ทั้งสิ้น โดยระบบจะน าค่าลอจิก “0” และ “1” เหล่านี้มาจัดกลุ่มกัน เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล

รหัสแอสกี (ASCII Code)
            - รหัสแทนด้วยตัวอักษรแบบแอสกี (American Standard Code for Information Interchange; ASCII)
-  เป็นรหัสแทนข้อมูลที่มีการใช้แพร่หลายกันมากที่สุด เช่น ในไมโครคอมพิวเตอร์IBM และ IBM คอมแพทิเบิล รหัสแอสกีเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (American National Standards Institute; ANSI)
- ประกอบด้วยรหัส 7 บิตและเพิ่มอีก 1 บิต เรียกว่า แพริตี้บิต รวมเท่ากับ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ ซึ่งแต่ละบิตจะแทนด้วยเลข "0" และ "1"

รหัสเอ็บซีดิก (EBCIDIC)
- (Extended Binary Coded Decimal Interchange Code; EBCDIC) เป็น รหัสแทนข้อมูลที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งพัฒนาขึ้น โดยบริษัทไอบีเอ็มโดยเฉพาะ
- รหัสเอ็บซีดิกนี้ มีขนาด 8 บิต เพื่อแทนสัญลักษณ์หนึ่งตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้แทนอักขระได้ 28 หรือ 256 ตัว หรือสองเท่าของรหัสแอสกี
 - รหัสเอ็บซีดิกถือว่าเป็นรหัสมาตรฐานในการใช้แทนอักขระของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ ในปัจจุบัน

รหัสยูนิโค้ด (UNICODE)
- ยูนิโค้ด (UNICODE) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบแรก
 - โดยการกำหนดให้หนึ่งตัวอักษรมีขนาด 16 บิตแทน 8 บิตตามแบบเก่าจึงสามารถใช้ แทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 แบบ
 - ตัวอักษร 128 ตัวแรกจะเหมือนกันกับตัวอักษรในรหัสแอสกีรุ่นเก่า นอกจากนี้มีตัวอักษรจีน 2,000 ตัว ตัวอักษรญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ฮิบรูกรีก สันสกฤต และอื่น ๆ รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สัญลักษณ์พิเศษอีกมากมาย

การส่งข้อมูล(Data transmission)
            กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับโดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิด ความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน
พื้นฐานของการส่งข้อมูล
            ในทางคอมพิวเตอร์การส่งข้อมูล หมายถึงการส่งชุดข้อมูลเป็นแบบบิต (bit) ที่มีแต่ตัวเลข 0 กับ 1 หรือเป็นไบต์ (byte) ที่เป็นตัวอักษรโดย 8 บิต มีค่าเป็น 1 ไบต์ จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งซึ่ง การส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์เราสามารถใช้ตัวกลางในการส่งข้อมูลได้หลากหลายชนิด เทคโนโลยี
- สายทองแดง (copper wire)
- เส้นใยแก้วนำแสง (optical fiber)
 - แสงเลเซอร์ (laser)
 - คลื่นวิทยุ (radio)
 - อินฟราเรด (infra – red light)

วิธีการส่งข้อมูล
            วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อ ถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ใน รูปที่มนุษย์สามารถที่จะ เข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือสิ่งรบกวน(Noise)จากภายนอก ทำให้ ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางใน การส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดย การพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

วิธีการส่งข้อมูล




ลักษณะการส่งข้อมูล
          สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 ชนิด
1. การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission)
 2. การส่งแบบขนาน (parallel transmission)

1.การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission)  
            จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง



2.การส่งแบบขนาน (parallel transmission)
            การส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวม บิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่ม


วิธีการส่งข้อมูล
         สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

1.การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส (asynchronous transmission)
            การสื่อสารแบบอซิงโครนัสนั้นจะใช้สายสัญญาณเพียงตัวเดียวแต่จะใช้รูปแบบการส่งข้อมูลหรือ Bit Pattern เป็นตัวกําหนดว่าส่วนไหนเป็นตัวเริ่มต้นข้อมูลส่วนไหนเป็นตัวข้อมูลส่วนไหนจะเป็นตัวตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และส่วนไหนเป็นส่วนปิดท้ายของข้อมูล

2.การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission)
            การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) การสื่อสารแบบซิงโครนัส จะใช้สัญญาณนาฬิกา กาควบคุมการรับส่งสัญญาณ เช่น สายคีย์บอร์ด คอมพิวเตอร์ โดยจะมี สายสัญญาณเป็นสายสัญญาณนาฬิกา ส่วนเส้นหนึ่งเป็นสายของ ข้อมูล( และมักจะมีสาย กราวน์ด้วย) สําหรับการสื่อสารแบบซิงโครนัสนี้เหมาะสําหรับการทํางานใน ระยะใกล้ข้อมูลที่จะส่งมีไม่มากนัก


สรุป
            การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง หนึ่ง ข้อมูลที่ส่งจะอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ในรูป ของตัวอักษรที่อ่านได้ โดยการส่งข้อมูลมีทั้งการส่งข้อมูลแบบขนาน และการส่งข้อมูลแบบอนุกรม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดบทที่ 5 1. จงอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต ตอบ อินเตอร์เน็ต  ( Internet)  นั้นย่อมาจากคำว่า   “International ne...