วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สรุปบทที่ 3


สรุปบทที่ 3
ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล




โครงสร้างข้อมูล

 โครงสร้างข้อมูลมีรูปแบบเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ 
         1. บิต (Bit)  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เลขฐานสองซึ่งมีสถานะเป็น 0 กับ 1 
         2. ไบต์(Byte) ประกอบด้วยบิตหลายๆ บิตมาเรียงต่อกัน เช่น 8 บิตมาเรียงต่อกันเป็น ไบต์ท าให้สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลเพื่อใช้แทนอักขระ ซึ่งอาจเป็นต้วเอล ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ได้ทั้งหมด 2 8 ตัวหรือเท่ากับ 256 ตัว
         3. เขตข้อมูล(Field)  เป็นการนำข้อมูลหลายอักขระมารวมกันเป็นค าเพื่อให้เกิด ความหมาย เช่น ชื่อพนักงาน และเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น 
         4. ระเบียนข้อมูล(Record)   กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกนำมาไว้รวมกัน เช่น ระเบียนข้อมูลของพนักงาน ประกอบด้วยเขตข้อมูล รหัสพนักงาน ซื่อ-สกุล เงินเดือนและแผนก เป็นต้น                        5. ไฟล์(File )    กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันถูกน ามาจัดเก็บไว้ด้วยกัน เช่น ไฟล์ประวัติพนักงาน ประกอบด้วยระเบียนข้อมูลของพนักงานทั้งหมดในองค์การ เป็นต้น

 ปัญหาเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
1.ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) การเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง ทำให้ยากต่อการควบคุมความถูกต้องให้ตรงกันของข้อมูล
2.ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) เป็นความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม โดยการเรียกใช้ข้อมูลต้องมีโปรแกรม หากเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือโครงสร้าง จะมีผลกระทบต่อโปรแกรม ทำให้ต้องตามแก้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงในการบำรุงรักษาโปรแกรม
3. การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data sharing) มีการจัดเก็บข้อมูลแยกจากกันทำให้ความพร้อมการใช้ข้อมูลยาก ไม่สามารถนำข้อมูลจากหลายแฟ้มมาใช้งานร่วมกันได
4. การขาดความร่วมมือ (Lack of Flexibility) ระบบแฟ้มข้อมูลขาดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ
5. การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security) การป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและใช้ข้อมูล มีขอบเขตความสามารถจำกัด

  แนวทางในการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูล
  1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Minimum Redundancy) การนำข้อมูลมารวมกันเพื่อตัดข้อมูลที่ซ้ำกันออกไป ระบบฐานข้อมูลมี DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการข้อมูลทำให้ควบคุมการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
  2. มีความเป็นอิสระต่อกัน (Data Independence) ระบบฐานข้อมูลมีแหล่งรวมข้อมูลเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ส่วนกลาง มี DBMS ดูแลการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อมูล
  3. สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Improved Data Sharing) การจัดเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลางช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องเพิ่มข้อมูลเข้าไปในระบบอีก
  4. มีความคล่องตัวในการใช้งาน (Improved Flexibility) การรวบรวมข้อมูลไว้ที่เดียวกัน มีการควบคุมอยู่ส่วนกลางช่วยให้มีความคล่องตัวในการใช้งานได้มากกว่าระบบไฟล์ข้อมูล DBMS มีเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบฟอร์มและรายงานต่าง ๆ ลดขั้นตอน และเวลาในการจัดทำรายงานและการเขียนโปรแกรมได้มาก
  5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง (High Degree of Data Integrity) ฐานข้อมูลมีระบบรักษาความปลอดภัย โดย DBMS จะตรวจสอบรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ และอนุญาตผู้มีสิทธิเข้ามาในระบบได้เฉพาะสิทธิแต่ละคนเท่านั้น                                                                                                                 
     องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  
    ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
    1. ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล
    2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง
    3. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ระบบปฏิบัติการ และระบบจัดการข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ต่าง ๆ
    4. ผู้ใช้ (Users) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ผู้เขียนโปรแกรม และผู้ใช้งาน                              ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือ ซอฟต์แวร์ส าหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไข ฐานข้อมูล หรือการตั้งค าถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จ าเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียด ภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของ โปรแกรมเมอร์                              
      รูปแบบของฐานข้อมูล
      1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model )
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น 
      แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้นมีโครงสร้างที่เข้าใจง่าย มีความซับซ้อนน้อยและเหมาะกับ
      ข้อมูลที่มีการเรียงลำดับ อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถรองรับความสัมพันธ์ของข้อมูล
      ในลักษณะ Many-to-Many และการเข้าถึงข้อมูลจะมีความ คล่องตัวน้อย เพราะจะเริ่มจาก
       Root Segment เสมอ

      2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย ความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีน้อยกว่า
      แบบจำลองฐานข้อมูล ลำดับชั้น และสนับสนุนความสัมพันธ์ของข้อมูลในลักษณะ 
      Many-to-Many ซึ่งสามเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับได้ โดย จะใช้พอยน์เตอร์ (Pointer)
      ในการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูล 

      3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
      มีโครงสร้างที่เข้าใจ ง่าย มีระบบจัดการฐานข้อมูลที่ช่วยให้การจัดการกับข้อมูล ทำโดยง่าย 
      ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างการจัดเก็บ ข้อมูลทางกายภาพเพราะจะซ่อนความซับซ้อน
      ของระบบไว้ และข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม แต่จำเป็นต้องใช้ ฮาร์ดแวร์และ
      ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถสูง

      ความแตกต่างระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ
           ฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Database) เป็นระบบที่ช่วยรวบรวม และจัดเก็บข้อมูล 
      ซึ่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน การประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณมากจะใช้เวลานาน 
      กระทบต่อการดำเนินงานได้ การเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทำได้ไม่ง่าย ต้องอาศัยเวลาในการประมวลผล 
      ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ จึงมีการจัดทำคลังข้อมูลเพ่อเป็นแหล่งเก็บข้อมูลรวม
      ขององค์การ ให้มีความเรียบง่ายต่อการค้นหา และเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถรองรับการ
      วิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมาก ข้อมูลมีลักษณะจัดเก็บในลักษณะที่รวบรวม เป็นระเบียบ
      ตามเนื้อหา และแปรผันตามเวลา ข้อมูลซ้ำซ้อนได้ เหมาะกับการประมวลผลเชิงวิเคราะห์
      ที่เป็นประโยชน์

        รูปแบบการประยุกต์คลังข้อมูลในธุรกิจ

            ระบบคลังข้อมูลนี้ เรียกว่า GWIS (Glaxo Wellcome Information system) เป็นระบบที่
      ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบออนไลน์ 
      (Relational Online Analytical Processing :ROLAP) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
      โดย GWIS ทำงานร่วมกับข้อมูลที่จัดเก็บในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 
      และบูรณาการเข้ากันกับข้อมูลจากแหล่งภายใน และแหล่ง



      ที่มา https://pimpanp.wordpress.com/


      ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                แบบฝึกหัดบทที่ 3

      1. จงเรียงลำดับชั้นโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปหาใหญ่
      ตอบ  โครงสร้างข้อมูลมีรูปแบบเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ 
      บิต(Bit) ไบต์(Byte) เขตข้อมูล(Field) ระเบียนข้อมูล(Record) และไฟล์(File)

      2. DBMS หมายถึง
      ตอบ  หมายถึง ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ 
      และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวก
      และมีประสิทธิภาพ

      3. จงยกตัวอย่างการใช้ฐานข้อมูลในงานธุรกิจ
      ตอบ       1. ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิ
      ดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต
      2. ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา เช่น งานรับมอบตัว งานทะเบียนเรียนรายวิชา 
      งานประมวลผลการเรียน งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา งานส่งนักศึกษาฝึกงาน
      3. ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์  เช่น ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย 
      การสนับสนุนการรักษาพยาบาล
      4. ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 
      ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
      5. ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย 
      การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผล
      คะแนนเลือกตั้ง

      4. รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็นกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
      ตอบ รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
      1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
      2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
      3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)

      5. จงบอกปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
      ตอบ       1. ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) การเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง ทำให้ยากต่อการควบคุม
      ความถูกต้องให้ตรงกันของข้อมูล
      2. ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) เป็นความผูกพันระหว่าง
      ข้อมูลและโปรแกรม โดยการเรียกใช้ข้อมูลต้องมีโปรแกรม หากเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือโครงสร้าง 
      จะมีผลกระทบต่อโปรแกรม ทำให้ต้องตามแก้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงในการ
      บำรุงรักษาโปรแกรม
      3. การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data sharing) มีการจัดเก็บข้อมูลแยกจากกันทำให้
      ความพร้อมการใช้ข้อมูลยาก ไม่สามารถนำข้อมูลจากหลายแฟ้มมาใช้งานร่วมกันได
      4. การขาดความร่วมมือ (Lack of Flexibility) ระบบแฟ้มข้อมูลขาดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อ
      ความต้องการใหม่ ๆ
      5. การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security) การป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล
      และใช้ข้อมูล มีขอบเขตความสามารถจำกัด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดบทที่ 5 1. จงอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต ตอบ อินเตอร์เน็ต  ( Internet)  นั้นย่อมาจากคำว่า   “International ne...