วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กรณศึกษา ร้านก๋วยเตี๋ยว



ให้นักศึกษาทำกรณีศึกษาต่อไปนี้ 






                       (รายละเอียดศึกษาได้จากวารสาร Eworld ฉบับเดือนพฤษภาคม 2547)
คุณเอกชัย ฤชุทัศน์สกุล เจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวปลา ได้นำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในการขายก๋วยเตี๋ยว ซึ่งปัญหาของระบบการสั่งซื้อก๋วยเตี๋ยวแต่เดิม คือ ความผิดผลาดในรายละเอียดของก๋วยเตี๋ยวที่สั่ง เช่น ไม่ใส่ถั่วงอก ไม่ใส่กระเทียมเจียว ทำให้การสั่งอาหารเกิดความล่าช้า ลูกค้าต้องคอยนานซึ่งความผิดผลาดในลักษณะนี้อาจเกิดความไม่พอใจของลูกค้าได้ ดังนั้นคุณเอกชัย จึงนำเครื่องพีดีเอมาประยุกต์ใช้งานควบคุมกับโปรแกรมสั่งอาหาร ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเลขที่โต๊ะอาหาร หมวดของอาหาร ข้อมูลอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนข้อมูลผู้ใช้ เช่น รหัสผ่านและการกำหนดสิทธิ์ ภายในร้านก๋วยเตี๋ยวมีการติดตั้งแอกเซสพอยท์ (Access Point) เพื่อรับส่งข้อมูลการสั่งอาหารจากพ็อกเก็ตพีซี เพื่อไปปรับปรุงฐานข้อมูลระบบที่เซิร์ฟเวอร์ในสำนักงาน และจะมีการอัพเดทการสั่งอาหารไปยังห้องครัว พนักงานยังสามรถคิดค่าอาหารจากพ็อกเก็ตพีซี นอกจากนี้ระบบยังสามารถจัดทำรายงานเพื่อการบริหารจัดการต่างๆได้ เช่น รายงานยอดขาย รายงานสรุปรายการอาหารที่ขาย เป็นต้น 


คำถาม
(1) ประโยชน์ที่ได้จากการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
ตอบ     1. ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
                 2. พนักงานที่รับรายการอาหารสามารถประสานงานกับพนักงานในครัว
รวดเร็วและเข้าใจตรงกัน
      3.  เมื่อนำพีดีเอเข้ามาช่วยทำให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพ
เจ้าของร้านจึงสามารถทำบัญชี และสรุปยอดขายได้ง่าย


(2) ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีเอมาใช้ในธุรกิจนี้
ตอบ  ข้อจำกัดในด้านเงินลงทุน เนื่องจากพีดีเอและอุปกรณ์เกี่ยวข้องต่างๆ และต้องมีการวางระบบฐานข้อมูล จึงต้องใช้เงินลงทุนสูง

(3) ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย

ตอบ ร้านไอศกรีม

         เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำเร็จ สามารถนำเครื่องพีดีเอมาประยุกต์ใช้งานควบคุมกับโปรแกรมสั่งอาหาร ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานต่างๆ เพื่อรับส่งข้อมูลการสั่งอาหาร จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารร้านได้เป็นอย่างดี


โปรแกรม Microsoft Access




โปรแกรม Microsoft Access


       

         เป็นโปรแกรมในการจัดการระบบฐานข้อมูล (Database Management System) ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ เข้ามาและยังสามารถพัฒนาแบบฟอร์ม (Form) และสร้างรายงาน (Report) ได้อีกด้วย โดยสามารถใช้พัฒนาระบบงานง่ายๆ จนถึงซับซ้อน ได้ และยังสามารถใช้งานพร้อมกันหลายๆ คน ได้ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญของ Microsoft Access ดังนี้

ประโยชน์ของ Microsoft Access
-                   ตาราง (Table) คือ ตารางจัดเก็บข้อมูล โดยจำเป็นต้องออกแบบ เพื่อรองรับกับการทำงาน
-                   คิวรี่ (Query) คือ แบบสอบถาม เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
-                   ฟอร์ม (Form) คือ แบบฟอร์ม เพื่อใช้เป็นหน้าจอในการ กรอกข้อมูล หรือ แสดงผลข้อมูล
-                   รายงาน (Report) คือ รายงาน ที่เป็นผลลัพธ์ เพื่อใช้แสดงผล และพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์
-                   มาโคร (Macro) คือ ชุดคำสั่งอัตโนมัติที่ใช้สั่งงานให้ทำงานตามที่ต้องการ
-                   โมดูล (Module) คือ ชุดคำสั่งขั้นสูงที่จะให้นักพัฒนาระบบสามารถปรับแต่ง สั่งงาน ให้ทำงานตามที่ต้องการได้ ประโยชน์ของ Microsoft Access

Microsoft Access ถูกนำไปใช้งานในระบบฐานข้อมูลได้ในหลากหลายธุรกิจ รองรับการทำงานพร้อมๆ กัน (Concurrent Usage) รองรับการพัฒนาปรับแต่ง และนำไปใช้กับระบบอื่นๆ ได้ สามารถ Import/Export Data ไปยังระบบต่างๆ เช่น Excel, SQL Server, Text File เป็นต้น

ลักษณะงานเหมาะกับ Microsoft Access
งานด้านลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Management)
งานระบบ เช่า / ยืม-คืน สินค้า (Rental System)
งานติดตามใบสั่งซื้อ (Order Tracking)
งานระบบ ซื้อ/ขาย สินค้า (Order and Purchase System)
งานติดตามงานในองค์กร (Task Tracking)
งานบันทึกสินค้าคงคลัง และจัดการสินทรัพย์ (Inventory and Asset Tracking)

ข้อจำกัดของ Microsoft Access
เนื่องจากว่า Microsoft Access เป็นระบบฐานข้อมูลในรูปแบบที่เป็นไฟล์ ซึ่งจะมีนามสกุล .accdb หรือ .mdb (ในเวอร์ชั่น 2003)

การใช้งานหลายคนจำเป็นจะต้องแชร์ข้อมูล (Sharing) ซึ่งจะต้องกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงให้เหมาะสม รองรับขนาดไฟล์สูงสุด คือ 2 GB. หากไฟล์เสีย อาจจะทำให้ทุกเครื่องใช้งานไม่ได้ ดังนั้นจำเป็นต้อง Backup และดูแลรักษาให้ถูกวิธี หน่วยงานที่ได้นำเอา Microsoft Access / Office 365 มาประยุกต์ใช้หลายๆ หน่วยงานมีการนำเอา Microsoft Office มาประยุกต์ใช้งานในองค์กรอย่างเป็นระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และ Productivity ได้เป็นอย่างดี


ที่มา https://products.office.com/en-us/business/office-365-customer-stories-office-testimonials




สรุปบทที่ 3


สรุปบทที่ 3
ฐานข้อมูล และคลังข้อมูล




โครงสร้างข้อมูล

 โครงสร้างข้อมูลมีรูปแบบเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ 
         1. บิต (Bit)  เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เลขฐานสองซึ่งมีสถานะเป็น 0 กับ 1 
         2. ไบต์(Byte) ประกอบด้วยบิตหลายๆ บิตมาเรียงต่อกัน เช่น 8 บิตมาเรียงต่อกันเป็น ไบต์ท าให้สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลเพื่อใช้แทนอักขระ ซึ่งอาจเป็นต้วเอล ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ได้ทั้งหมด 2 8 ตัวหรือเท่ากับ 256 ตัว
         3. เขตข้อมูล(Field)  เป็นการนำข้อมูลหลายอักขระมารวมกันเป็นค าเพื่อให้เกิด ความหมาย เช่น ชื่อพนักงาน และเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น 
         4. ระเบียนข้อมูล(Record)   กลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกนำมาไว้รวมกัน เช่น ระเบียนข้อมูลของพนักงาน ประกอบด้วยเขตข้อมูล รหัสพนักงาน ซื่อ-สกุล เงินเดือนและแผนก เป็นต้น                        5. ไฟล์(File )    กลุ่มของระเบียนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันถูกน ามาจัดเก็บไว้ด้วยกัน เช่น ไฟล์ประวัติพนักงาน ประกอบด้วยระเบียนข้อมูลของพนักงานทั้งหมดในองค์การ เป็นต้น

 ปัญหาเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
1.ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) การเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง ทำให้ยากต่อการควบคุมความถูกต้องให้ตรงกันของข้อมูล
2.ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) เป็นความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม โดยการเรียกใช้ข้อมูลต้องมีโปรแกรม หากเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือโครงสร้าง จะมีผลกระทบต่อโปรแกรม ทำให้ต้องตามแก้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงในการบำรุงรักษาโปรแกรม
3. การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data sharing) มีการจัดเก็บข้อมูลแยกจากกันทำให้ความพร้อมการใช้ข้อมูลยาก ไม่สามารถนำข้อมูลจากหลายแฟ้มมาใช้งานร่วมกันได
4. การขาดความร่วมมือ (Lack of Flexibility) ระบบแฟ้มข้อมูลขาดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อความต้องการใหม่ ๆ
5. การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security) การป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลและใช้ข้อมูล มีขอบเขตความสามารถจำกัด

  แนวทางในการใช้ฐานข้อมูลในการบริหารจัดการข้อมูล
  1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Minimum Redundancy) การนำข้อมูลมารวมกันเพื่อตัดข้อมูลที่ซ้ำกันออกไป ระบบฐานข้อมูลมี DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการข้อมูลทำให้ควบคุมการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
  2. มีความเป็นอิสระต่อกัน (Data Independence) ระบบฐานข้อมูลมีแหล่งรวมข้อมูลเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ส่วนกลาง มี DBMS ดูแลการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อมูล
  3. สนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน (Improved Data Sharing) การจัดเก็บข้อมูลไว้ส่วนกลางช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โปรแกรมประยุกต์สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องเพิ่มข้อมูลเข้าไปในระบบอีก
  4. มีความคล่องตัวในการใช้งาน (Improved Flexibility) การรวบรวมข้อมูลไว้ที่เดียวกัน มีการควบคุมอยู่ส่วนกลางช่วยให้มีความคล่องตัวในการใช้งานได้มากกว่าระบบไฟล์ข้อมูล DBMS มีเครื่องมือช่วยในการสร้างแบบฟอร์มและรายงานต่าง ๆ ลดขั้นตอน และเวลาในการจัดทำรายงานและการเขียนโปรแกรมได้มาก
  5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสูง (High Degree of Data Integrity) ฐานข้อมูลมีระบบรักษาความปลอดภัย โดย DBMS จะตรวจสอบรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ และอนุญาตผู้มีสิทธิเข้ามาในระบบได้เฉพาะสิทธิแต่ละคนเท่านั้น                                                                                                                 
     องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  
    ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วน คือ
    1. ข้อมูล (Data) คือ ข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล
    2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง
    3. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ระบบปฏิบัติการ และระบบจัดการข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ต่าง ๆ
    4. ผู้ใช้ (Users) คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ผู้เขียนโปรแกรม และผู้ใช้งาน                              ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือ ซอฟต์แวร์ส าหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไข ฐานข้อมูล หรือการตั้งค าถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จ าเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียด ภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของ โปรแกรมเมอร์                              
      รูปแบบของฐานข้อมูล
      1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model )
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น 
      แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้นมีโครงสร้างที่เข้าใจง่าย มีความซับซ้อนน้อยและเหมาะกับ
      ข้อมูลที่มีการเรียงลำดับ อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถรองรับความสัมพันธ์ของข้อมูล
      ในลักษณะ Many-to-Many และการเข้าถึงข้อมูลจะมีความ คล่องตัวน้อย เพราะจะเริ่มจาก
       Root Segment เสมอ

      2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย ความซ้ำซ้อนของข้อมูลมีน้อยกว่า
      แบบจำลองฐานข้อมูล ลำดับชั้น และสนับสนุนความสัมพันธ์ของข้อมูลในลักษณะ 
      Many-to-Many ซึ่งสามเชื่อมโยงข้อมูลแบบไป-กลับได้ โดย จะใช้พอยน์เตอร์ (Pointer)
      ในการเชื่อมโยงและเข้าถึงข้อมูล 

      3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
      ข้อดีและข้อจำกัดของแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
      มีโครงสร้างที่เข้าใจ ง่าย มีระบบจัดการฐานข้อมูลที่ช่วยให้การจัดการกับข้อมูล ทำโดยง่าย 
      ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างการจัดเก็บ ข้อมูลทางกายภาพเพราะจะซ่อนความซับซ้อน
      ของระบบไว้ และข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม แต่จำเป็นต้องใช้ ฮาร์ดแวร์และ
      ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถสูง

      ความแตกต่างระหว่างคลังข้อมูลกับฐานข้อมูลปฏิบัติการ
           ฐานข้อมูลปฏิบัติการ (Operational Database) เป็นระบบที่ช่วยรวบรวม และจัดเก็บข้อมูล 
      ซึ่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน การประมวลผลข้อมูลที่มีปริมาณมากจะใช้เวลานาน 
      กระทบต่อการดำเนินงานได้ การเรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ทำได้ไม่ง่าย ต้องอาศัยเวลาในการประมวลผล 
      ไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ จึงมีการจัดทำคลังข้อมูลเพ่อเป็นแหล่งเก็บข้อมูลรวม
      ขององค์การ ให้มีความเรียบง่ายต่อการค้นหา และเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็ว สามารถรองรับการ
      วิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมาก ข้อมูลมีลักษณะจัดเก็บในลักษณะที่รวบรวม เป็นระเบียบ
      ตามเนื้อหา และแปรผันตามเวลา ข้อมูลซ้ำซ้อนได้ เหมาะกับการประมวลผลเชิงวิเคราะห์
      ที่เป็นประโยชน์

        รูปแบบการประยุกต์คลังข้อมูลในธุรกิจ

            ระบบคลังข้อมูลนี้ เรียกว่า GWIS (Glaxo Wellcome Information system) เป็นระบบที่
      ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบออนไลน์ 
      (Relational Online Analytical Processing :ROLAP) ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
      โดย GWIS ทำงานร่วมกับข้อมูลที่จัดเก็บในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ 
      และบูรณาการเข้ากันกับข้อมูลจากแหล่งภายใน และแหล่ง



      ที่มา https://pimpanp.wordpress.com/


      ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                                แบบฝึกหัดบทที่ 3

      1. จงเรียงลำดับชั้นโครงสร้างข้อมูลจากเล็กไปหาใหญ่
      ตอบ  โครงสร้างข้อมูลมีรูปแบบเป็นลำดับขั้นโดยเริ่มด้วยหน่วยที่เล็กที่สุดคือ 
      บิต(Bit) ไบต์(Byte) เขตข้อมูล(Field) ระเบียนข้อมูล(Record) และไฟล์(File)

      2. DBMS หมายถึง
      ตอบ  หมายถึง ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ 
      และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวก
      และมีประสิทธิภาพ

      3. จงยกตัวอย่างการใช้ฐานข้อมูลในงานธุรกิจ
      ตอบ       1. ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิ
      ดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต
      2. ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา เช่น งานรับมอบตัว งานทะเบียนเรียนรายวิชา 
      งานประมวลผลการเรียน งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา งานส่งนักศึกษาฝึกงาน
      3. ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์  เช่น ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย 
      การสนับสนุนการรักษาพยาบาล
      4. ประยุกต์ใช้ในงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 
      ลดแรงงาน โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์ทำงาน
      5. ประยุกต์ใช้ในสำนักงานภาครัฐและเอกชน เช่น การทำบัตรประจำตัวประชาชน การเกิด การตาย 
      การเสียภาษีอากร การทำใบอนุญาตขับรถยนต์ การจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ การประมวลผล
      คะแนนเลือกตั้ง

      4. รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็นกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
      ตอบ รูปแบบของฐานข้อมูลแบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
      1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
      2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
      3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)

      5. จงบอกปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
      ตอบ       1. ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) การเก็บข้อมูลมากกว่าหนึ่งแห่ง ทำให้ยากต่อการควบคุม
      ความถูกต้องให้ตรงกันของข้อมูล
      2. ความผูกพันระหว่างข้อมูลและโปรแกรม (Program-Data Dependence) เป็นความผูกพันระหว่าง
      ข้อมูลและโปรแกรม โดยการเรียกใช้ข้อมูลต้องมีโปรแกรม หากเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือโครงสร้าง 
      จะมีผลกระทบต่อโปรแกรม ทำให้ต้องตามแก้โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงในการ
      บำรุงรักษาโปรแกรม
      3. การไม่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ (Lack of Data sharing) มีการจัดเก็บข้อมูลแยกจากกันทำให้
      ความพร้อมการใช้ข้อมูลยาก ไม่สามารถนำข้อมูลจากหลายแฟ้มมาใช้งานร่วมกันได
      4. การขาดความร่วมมือ (Lack of Flexibility) ระบบแฟ้มข้อมูลขาดความคล่องตัวในการตอบสนองต่อ
      ความต้องการใหม่ ๆ
      5. การขาดระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี (Poor Security) การป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล
      และใช้ข้อมูล มีขอบเขตความสามารถจำกัด




สรุปบทที่ 2



สรุปบทที่ 2

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์



การทำงานของคอมพิวเตอร์  มี 4 ขั้นตอน  ประกอบด้วย
1                                               1.  รับข้อมูล (Input) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
 เช่น เมาส์ Mouse  สแกนเนอร์ (Scanner) ไมโครโฟน (Microphone)  กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
                          2. ประมวลผล (Process) เช่น การคำนวณภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย
                          3. แสดงผล (Output) การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
                          4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม

ประเภทของคอมพิวเตอร์  จำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท

        1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

  
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีราคาสูงมาก สามารถประมวลผลได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ปัจจุบันมีการนำไปใช้กับงานออกแบบชิ้นส่วนรถ งาน วิเคราะห์สินค้าคงคลัง การออกแบบงานด้านศิลปะ

2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer)


   
มี ประสิทธิภาพรองจาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการท างานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้กับองค์การ ขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้จ านวนมากในเวลา เดียวกัน เช่น ธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การ ลงทะเบียน บริษัทประกัน


3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer)


 

หรือเรียกว่า Mid-rang Computer/Sever มี ประสิทธิภาพด้านความเร็วน้อยกว่าเมนเฟรม สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายคน ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักโรงแรม งานด้านการบัญชีขององค์การธุรกิจ

4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PC (Personal Coomputer)

 
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) ป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็ก บาง และน้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพา ใช้กับไฟฟ้ามาตรฐานทั่วไป และแบตเตอร์

6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมฯ ที่มีขนาดเล็กที่สุด หรือที่ เรียกกันว่า PDA (Personal Digital Assistant)

7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ ตู้ร้องคาราโอเกะ


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
การทำงานของระบบของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices)

แป้นพิมพ์  อุปกรณ์กดเพื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์มาตรฐานมีแป้นกด 101 แป้นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค มี 105 แป้น


2. เมาส์  อุปกรณ์ควบคุมการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ มี 1-5 ปุ่ม มี 2 แบบ คือ แบบทางกล ใช้ลูกกลิ้งกลมมีน้ำหนักแรงเสียดทานพอดี และ แบบใช้แสงอินฟราเรด Optical Mouse



3.  หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)

เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วน และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit : ALU) คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์


4. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นชิปหรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรม ข้อมูล บรรจุอยู่บนแผงวงจรหลักเรียกว่า เมนบอร์ด (Mainboard) หน่วยความจำมี 3 ประเภท คือ 

                – หน่วยความจำแรม Random Access Memory : RAM อุปกรณ์แผงวงจรเก็บข้อมูลชั่วคราวใช้งานได้ตอนเปิดเครื่อง ข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ Static RAM และ Dynamic RAM

                – หน่วยความจำรอม Read Only Memory หน่วยความจำบันทึกข้อสารสนเทศและคำสั่งเริ่มต้น ข้อมูลและคำส่งจะไม่ถูกลบหายเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ สามารถอ่านได้ เรียกว่า PROM (Programmable Read Only Memory)

                – หน่วยความจำซีมอส Complementary Metal Oxide Semiconductor : CMOSหน่วยความจำที่เก็บข้อสารสนเทศที่ใช้ประจำของระบบคอมพิวเตอร์

5. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) 

– เครื่องพิมพ์ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

                เครื่องพิมพ์แบบกระทบ ใช้หัวเข็มกระทบให้ผ้าหมึกพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบจุด

                เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ใช้หมึกฉีดพ่นไปบนกระดาษ ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เครื่องพิมพ์ฉีกหมึก
จอภาพ  เรียกว่า มอนิเตอร์ คล้ายจอโทรทัศน์ มีขนาด 14 , 15 และ 17 นิ้ว และจอภาพชนิดแบน หรือจอภาพแอลซีดี


6. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices)  จัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บได้ถึงไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่ แผ่นดิสเก็ตต์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นคอมแพคดิสก์ แผ่นดีวีดี

การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
                การจัดการกับทรัพยากรไอดีด้านฮาร์ดแวร์มีประเด็นในการพิจารณา ดังนี้
1.       การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน
2.       การวางแผนระยะยาวในเรื่องของความสามารถและประสิทธิภาพในอนาคตของฮาร์ดแวร์
3.       การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
4.       มีงบประมาณดูแลปรับปรุงในระยะยาว
5.       ระบุความเสี่ยง จัดหาแนวทางป้องกัน
6.       การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ระบบ
                เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) และโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utillity Programs)


 ระบบปฏิบัติการ
                เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และผู้ใช้ทำงานกับโปรแกรมประยุกต์ ระบบปฏิบัติการปัจจุบัน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System : DOS) ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (LINUX) ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX) และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows 98 , Windows ME , Windows XP)  ระบบปฏิบัติการจะถูกเรียกใช้จากฮาร์ดดิสก์ไปไว้ที่หน่วยความจำหลัก และใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอื่น ๆ

โปรแกรมอรรถประโยชน์
                เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมอรรถประโยชน์ เช่น โปรแกรมสำรองข้อมูลที่สำคัญในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ โปรแกรมตรวจไวรัส โปรแกรมบีบอัดข้อมูล เช่น WinZip เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้ จะให้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Window

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

                เป็นโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านต่าง ๆ  ตามความต้องการของผู้ใช้  การพัฒนาโปรแกรมเพื่อความต้องการขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เรียกว่า โปรแกรมเฉพาะงาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงมีการพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานทั่ว ๆ ไป เรียกว่า โปรแกรมสำเร็จรูป  ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานทั่วไป แบ่งตามประเภทของงานได้ ดังนี้

  1. โปรแกรมประมวลผลคำ สำหรับสร้าง แก้ไข จัดรูปแบบ จัดพิมพ์เอกสารให้ออกมาในรูปแบบรายงาน จดหมาย สิ่งพิมพ์ โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Word , WordPerfect , Lotus , Word Pro เป็นต้น

  2. โปรแกรมด้านการคำนวณ มีลักษณะเป็นกระดาษทำการ (Worksheet) ประกอบด้วยช่องตาราง เรียกว่า เซลล์ เรียงตามแถว และคอลัมน์ พิมพ์ข้อมูล อักษร ตัวเลข สูตรการคำนวณค่าต่าง ๆ ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Excel , Lotus 1-2-3 และ Quattro Pro เป็นต้น
  3.โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างเอกสารในรูปแบบแผ่นสไลด์ เหมาะกับงานนำเสนอหลายรูปแบบ การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว การนำเสนอผังองค์การ กราฟสถิติต่าง ๆ โปรแกรมที่นำเสนอ ได้แก่ Microsoft PowerPoint , Freeland Graphics




ที่มา https://pimpanp.wordpress.com








.................................................................................................

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1. ประเภทของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง 

ตอบ ประเภทของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7 ประเภท 
                    1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
                    2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer)
                    3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer)
                    4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)
                    5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer
                    6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer
                    7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer)


2. จงบอกขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ  มีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1. รับข้อมูล (Input)        
             อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น เมาส์ Mouse สแกนเนอร์ (Scanner)       ไมโครโฟน (Microphone) และกล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นต้น
2. ประมวลผล (Process)        
             เช่น การคำนวณ ภาษี คำนวณเกรดเฉลี่ย 
3. แสดงผล (Output)         
              การที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล ซึ่งอุปกรณ์ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage)          
             คือการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม

3. จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล 5 ประเภท

ตอบ      1. แป้มพิมพ์       
             2. เมาส์         
             3. แทร็กบอล       
             4. จอยสติก        
             5.สแกนเนอร์

4. จงหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานด้านเอกสารมา 2 รุ่น 

ตอบ  1. รุ่น Lenovo CPU PENTIUM หรือสูงกว่า RAM 4GB ขึ้นไป HDD 500GB ขึ้นไป ใช้power supply ไม่ต่ำกว่า450w

2. รุ่น acer  จอภาพแบบ LCD เพื่อถนอมสายตา CPU PENTIUM หรือสูงกว่า RAM 4GB ขึ้นไป HDD 500GB ขึ้นไป ใช้power supply ไม่ต่ำกว่า450w



5. จงหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานด้านการตัดต่อวิดีโอมา 2 รุ่น

 ตอบ 1. รุ่น acer   CPU I5 หรือสูงกว่า RAM 8GB ขึ้นไป VGA 1050 ขึ้นไป SSD 250 GB หรือสูงกว่าเพื่อถ่ายโอนข้อมูลpower supply 550wขึ้นไป และเป็น80+เพื่อการจ่ายไฟได้เต็มกำลังไฟ
และควรมีระบบระบายความร้อนที่ดีด้วย

2. รุ่น Lenovo CPU I5 หรือสูงกว่า RAM 8GB ขึ้นไป VGA 1050 ขึ้นไป SSD 250 GB หรือสูงกว่าเพื่อถ่ายโอนข้อมูล power supply 550wขึ้นไป และเป็น80+เพื่อการจ่ายไฟได้เต็มกำลังไฟ
และควรมีระบบระบายความร้อนที่ดีด้วย





แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดบทที่ 5 1. จงอธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ต ตอบ อินเตอร์เน็ต  ( Internet)  นั้นย่อมาจากคำว่า   “International ne...